ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร อันตรายมากไหม พร้อมข้อควรสังเกตก่อนฉีดฟิลเลอร์

การฉีดฟิลเลอร์ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกหัตถการยอดนิยมของคนยุคปัจจุบันในการปรับรูปหน้า เติมเต็มร่องลึกต่างๆ ตามร่างหายหรือแม้กระทั่งลดเลือนริ้วรอย แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว ยังมีฟิลเลอร์ปลอมปนกับฟิลเลอร์แท้ในตลาดไทยจำนวนมาก หากคนไข้ไม่ระวังอาจอาจส่งผลร้ายแรงต่อผิวหน้าได้หลังการทำหัตถการ วันนี้หมอจะพสมาทำความรู้จักกับฟิลเลอร์ปลอมกัน

ฟิลเลอร์คืออะไร 

ฟิลเลอร์ (Filler) หรือ สารเติมเต็ม เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพื่อแก้ไขริ้วรอย ร่องลึก เติมเต็มให้ใบหน้าดูอิ่มฟู มักใช้ในบริเวณที่ต้องการเพิ่มความชุ่มชื้น หรือแก้ไขรูปหน้า เช่น ร่องแก้ม ขมับ ริมฝีปาก มักทำได้ทุกบริเวณที่ต้องการ 

ฟิลเลอร์มีกี่ประเภท 

  1. ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว คือ ฟิลเลอร์ที่ผลิตจากสารไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติ โดยปกติฟิลเลอร์ประเภทนี้จะสลายตัวตามธรรมชาติภายใน 6-12 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลองฉีดฟิลเลอร์เพื่อดูผลลัพธ์ก่อนตัดสินใจฉีดแบบถาวร หรือต้องการเติมเต็มริ้วรอยชั่วคราว
  2. ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร คือ ฟิลเลอร์ที่ผลิตจากสารไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Hydroxyapatite) หรือ โพลีลาคติดแอซิด (Polylactic Acid) โดยปกติฟิลเลอร์ประเภทนี้จะสลายตัวตามธรรมชาติภายใน 12-24 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์ที่ยาวนานกว่าฟิลเลอร์แบบชั่วคราว ข้อดีคืออยู่ได้นานกว่าแบบชั่วคราวแต่ข้อเสียคืออาจเกิดการอักเสบตามมาทำให้ ช้ำ บวมหรือแดงได้
  3. ฟิลเลอร์แบบถาวร คือ ฟิลเลอร์ที่ผลิตจากสารซิลิโคน เหลว หรือ ไมโครสเฟียร์ ฟิลเลอร์ประเภทนี้ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์ที่ถาวร แต่ข้อเสียคืออาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมาเช่นการอักเสบ เป็นต้น 

ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร 

ฟิลเลอร์ปลอม ตามกฎหมายคือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมักใช้สารอันตรายชนิดต่าง ๆ  เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน หรือสารอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. และทราบหรือไม่ว่าในอดีตสารที่นำมาทำเป็นฟิลเลอร์ปลอมมากที่สุดก็คือ ซิลิโคนเหลว นั่นเอง

ฟิลเลอร์ปลอม อันตรายอย่างไร

การฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่มีสารแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าร่างกาย อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น

ผิวหนังอักเสบเกิดการติดเชื้อ

เพราะฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพมักประกอบไปด้วยสารปนเปื้อนชนิดอื่นที่ผิดกฎหมาย และเมื่อฉีดเข้าร่างกาย สารปนเปื้อนดังกล่าวจะกระตุ้นการอักเสบของผิวหนัง เกิดอาการบวมแดง คัน หรือเจ็บได้ ในคนไข้บางรายอาจเกิดเป็น รอยแผลเป็นทำให้ผิวหน้าเสียหายอย่างถาวร

ฟิลเลอร์ปลอมจับตัวเป็นก้อน

นอกจากอาการอักเสบของผิวหนังแล้ว ฟิลเลอร์ปลอมมักจะจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัวส่งผลให้หน้าของคนไข้ผิดรูป ไม่สมดุลสมดุล หรือไม่เป็นธรรมชาติ ที่สำคัญการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขเพราะอาจมีผลข้างเคียงตามมาเช่น รอยแผลถาวรหรือเส้นประสาทเสียหาย เป็นต้น

เส้นเลือดอุดตัน

อาจฟังดูร้ายแรงแต่นี่คือความจริง เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมที่ทำจากสารบางชนิด อาจมีความหนืดสูงเมื่ออยู่ใต้ผิวหนังและมีความเสี่ยงในการไหลไปอุดตันเส้นเลือด ทำให้เนื้อเยื่อตายเกิดการอักเสบ ในกรณีร้ายแรง คนไข้อาจสูญเสียอวัยวะ หรือตาบอดได้

อาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ผิวหนัง

สารในฟิลเลอร์ปลอมบางชนิดอาจกระตุ้นการสร้างพังผืดใต้ผิว ส่งผลให้ผิวแข็งอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ริ้วรอยดูชัดจนผิดปกติและทำให้ใบหน้าดูแก่ก่อนวัยได้

วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม

1. ตรวจสอบเลข อย. ฟิลเลอร์แท้ต้องมีเลข อย. ของไทยกำกับบนฉลาก ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) https://www.fda.moph.go.th/  คนไข้ควรระวังฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่มีเลข อย. หรือเลข อย. ปลอม

2. ตรวจสอบชื่อฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์แท้ต้องมีชื่อและยี่ห้อที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ ศึกษาข้อมูลชนิดของฟิลเลอร์ คุณสมบัติ เหมาะกับบริเวณไหน ควรระวังฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่มีชื่อยี่ห้อ หรือใช้ชื่อที่คล้ายกับฟิลเลอร์แท้

3. ตรวจสอบแหล่งที่มาของฟิลเลอร์  เลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตรวจสอบรีวิว ประวัติของคลินิกและแพทย์ เลือกคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉีดฟิลเลอร์โดยตรง ระวังคลินิกเถื่อน หรือคลินิกที่ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

4. ราคา ฟิลเลอร์แท้มีราคาค่อนข้างสูง ระวังฟิลเลอร์ราคาถูกเกินจริง ฟิลเลอร์ราคาถูก อาจเป็นฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

5. สังเกตจากแพทย์และขั้นตอนการฉีดฟิลเลอร์ แพทย์ที่ทำการฉีดควรเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถอธิบายรายละเอียดของฟิลเลอร์ได้ดี นอกจากนี้แพทย์ควรแกะฉลากฟิลเลอร์ให้คนไข้ ตรวจสอบชื่อ ยี่ห้อ เลข อย. อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งห้องฉีดฟิลเลอร์ควรสะอาด ปลอดภัย เข็มฉีดควรเป็นเข็มใหม่ บรรจุภัณฑ์ปิดมิดชิด

6. สังเกตหลังฉีด อาจมีอาการบวมแดง ช้ำเล็กน้อยหลังฉีด อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน

หากมีอาการผิดปกติ เช่น บวมแดง อักเสบ ร้อน เจ็บ ควรกลับไปพบแพทย์ที่ฉีดทันที

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Restylane

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Restylane
สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Restylane
สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Restylane

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Neuramis

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Neuramis
สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Neuramis

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Juvederm

สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Juvederm
สังเกตฟิลเลอร์ปลอม ยี่ห้อ Juvederm

ข้อควรสังเกตเพิ่มสำหรับฟิลเลอร์ปลอม

โดยปกติแล้วหากเข้าทำหัตถการที่เป็นฟิลเลอร์แท้ไม่ใช่ฟิลเลอร์ปลอม ก่อนฉีดคุณหมอจะมีการเปิดกล่องละให้ตรวจสอบโดยการแสกนคิวอสร์โค๊ดที่บริเวณกล่องของฟิลเลอร์ยี่ห้อนั้น ๆ ซึ่งจะสามารถระบุที่มาและเลข อย. ของฟิลเลอร์ได้ วิธีนี้สามารถเพิ่มความมั่นใจได้ว่าฟิลเลอร์กล่องใดเป็นฟิลเลอร์ปลอม

สรุปเรื่องฟิลเลอร์ปลอมและความอันตรายของฟิลเลอร์ปลอม

และนี่ก็คือเรื่องราวของฟิลเลอร์ปลอมที่คนไข้ต้องรู้ก่อนเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ เพื่อความสวยที่ปลอดภัย ไร้กังวลควรศึกษาข้อมูล เลือกคลินิกและแพทย์ที่ถูกกฎหมาย หากไม่มั่นใจในคลินิกที่กำลังตัดสินใจอยู่สามารถเข้ารับการปรึกษาและทำหัตถการได้ที่ Drema Clinic เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ประสบการณ์ด้านคลินิกความงามมากกว่า 7 ปี และยังได้รับรางวัลการันตี Gold Award Facial Aesthetic และรางวัลยอดสั่งซื้อฟิลเลอร์ Restylane สูงสุดในประเทศในปี 2023 และ 2024 อีกด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/116858/

Scroll to Top